บล็อกของดิฉัน

ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้าชม

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความรักของแม่


ความรักของพ่อแม่
การเดินทางร่วมกันของเราในวัฏสงสาร
มีทั้งรักกัน เกลียดกัน ทำดีบ้าง ทำชั่วบ้าง
เหล่านี้คือกรรมที่ทำสะสมไว้ซ้ำๆ ซากๆ
กรรมดีหรือนิสัยที่ดี เป็นการสร้างบารมี
กรรมชั่ว นิสัยที่ไม่ดี สะสมเป็นอาสวะ กิเลส


การที่เราเกิดมาในท้องแม่ ถือเป็นกรรมเก่า
ผลของกรรมเก่าที่สร้างสมไว้เปรียบเหมือนเมล็ดพืช
การรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
และการเลี้ยงดูของพ่อแม่เป็นปัจจัย
หรือเปรียบเหมือน ปุ๋ย ดิน น้ำ แสงแดด
ที่ช่วยบำรุงเลี้ยงเมล็ดพืชให้งอกงาม


อย่างไรก็ตาม เด็กทารกทุกคนคือผู้บริสุทธิ์
การเลี้ยงดูของพ่อแม่ด้วยความรักความเมตตา
จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้ลูกเติบโตขึ้น
อย่างมีความสุข ตรงกันข้าม เด็กที่เกิดมาอย่างขาดความรัก
ความอบอุ่นในครอบครัว ยากที่จะมีจิตใจที่ดีได้
มักมีปัญหาทางใจ เป็นคนขี้น้อยใจ ขี้อิจฉาริษยา
ขี้กลัว ขี้โกรธ ขี้ตกใจ ฯลฯ เรียกว่า จิตใจไม่สมบูรณ์


ความรักจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ล่อเลี้ยงชีวิต
มนุษย์ทุกคนต้องการความรักจากพ่อแม่
ญาติพี่น้อง และบุคคลที่อยู่รอบข้าง
เราจะเกิดความรู้สึกอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย
และสุขใจ เมื่อได้รับความรัก
ความรักจึงทำให้มนุษย์มีจิตใจที่สมบูรณ์
ชีวิตของเราเริ่มสัมผัสกับความรักได้ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่
อาหารถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกผ่านสายสะดือ
ความรู้สึกนึกคิดของแม่ก็ถ่ายทอดถึงจิตใจของลูก
ผ่านสะดืออารมณ์ได้เหมือนกัน ดังนั้น การทำหน้าที่แม่ที่ดี
ไม่เพียงแต่รักษาร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์เท่านั้น
หากต้องรักษาอารมณ์และจิตใจที่ดีด้วย
โดยการรักษาศีล ภาวนา คิดดี พูดดี ทำดี


ญาติพี่น้อง บุคคลรอบข้างก็ควรให้ความรัก
ความเมตตา ให้กำลังใจ แก่ผู้ที่กำลังจะเป็นแม่
ตามหลักจิตวิทยาเชื่อว่า จิตใจของเด็กมีความละเอียดอ่อน
ซึมซับสิ่งต่างๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การเลี้ยงดูเด็กในช่วงอายุ ๓-๔ ขวบ จะเป็นช่วง
หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญที่จะมีผลต่อการกำหนด
จริตนิสัย พฤติกรรมของเด็กในเวลาต่อมา
เด็กที่ได้รับความรัก จะมีความรู้สึกอบอุ่น
มีความมั่งคงทางอารมณ์ และเติบโตขึ้นมามีความสุข
เด็กที่ขาดความรัก ถูกทอดทิ้ง จะรู้สึกมีปมด้อย
ขี้น้อยใจ ขี้อิจฉาริษยา ขี้กลัว เป็นต้น
ความรักที่พอเหมาะพอดี จึงเป็นเรื่องสำคัญ

เพลงค่าน้ำนม




พระบิดาแห่งกฎหมายไทย



พระประวัติ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นโอรสองค์ที่ ๑๔ ในสมเด็จพระปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติ ณ เมื่อวันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๓๖ ตรงกับวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๗ พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน์
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) เมื่อได้ทรงผ่านการศึกษาภาษาไทยเป็นเบื้องต้นแล้ว ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้นในสำนักครูรามสามิ และในพุทธศักราช ๒๔๒๖ ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยา โอวาทวรกิจ(แก่น) เปรียญ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๒๗ ทรงเข้าศึกษาในโครงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นครูสอน
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมในกรุงลอนดอนเป็นเวลา ๓ ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยม แล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ศึกษาวิชาการฝ่ายพลเรือนพระองค์ทรงเลือกเรียนวิชากฎหมาย เหตุที่ทรงเลือกวิชากฏหมายก็เนื่องจากเมืองไทยในเวลานั้นมีศาลกงสุลฝรั่งชาวยุโรปและอเมริกามีอำนาจในประเทศไทย ซึ่งยากแก่การปกครอง จึงมีพระทัยตั้งมั่นที่จะพยายามขอเลิกอำนาจศาลกงศุลต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศของเรามีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง ซึ่งทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายเพื่อ จะได้กลับมาพัฒนากฎหมายของบ้านเมือง กับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นเพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับนับถือ และยอมอยู่ใต้อำนาจของศาลเรา
เสด็จในกรม ฯ ทรงมีพระสติปัญญาเฉลี่ยวฉลาดมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ สอบผ่านเข้าเรียน ณ สำนักไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ เมื่อพระชันษาได้ ๑๗ พรรษา คราวแรกมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับเข้าศึกษาอ้างระเบียนว่าพระองค์จะศึกษาได้ต้องมีพระชันษา ๑๘ พรรษา แต่ก็ต้องจำนนด้วยเหตุผลที่พระองค์ท่านดำรัสว่า “คนไทยนั้นเกิดง่ายตายเร็ว” ดังนั้นจึงทดลองให้พระองค์สอบไล่อีกครั้งหนึ่งซึ่งก็ทรงสอบไล่ได้ในที่สุด พระองค์ทรงพระอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก สอบไล่ผ่านทุกวิชา ได้รับปริญญา B.A. ชั้นเกียรตินิยม ภายในเวลา ๓ ปี เมื่อพระชันษาได้เพียง ๒๐ พรรษา ซึ่งบุคลธรรมดาต้องเรียนถึง ๔ ปี เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนักถึงกับทรงเรียกเสด็จในกรมฯ ว่า “เฉลียวฉลาดรพี”

ผลงาน
เนื่องจากโรงเรียนกฎหมาย ซึ่งเสด็จในกรมฯ ได้ทรงจัดตั้งขึ้นมีการศึกษาเป็นปึกแผ่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๖ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ เมื่อวันที ๗ มิถุนายน ๒๔๕๕ ให้ยกโรงเรียนกฎหมายขึ้นเป็นโรงเรียนหลวง อยู่ในกระทรวงยุติธรรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงริเริ่มพระราชทานกำเนิด เนติบัณฑิตยสภา ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ต่อมามีพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๔๖๗ ให้โรงเรียนกฎหมายอยู่ในความควบคุมของสภานิติศึกษา จนกระทั่งสมัยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้ว โรงเรียนกฎหมายได้โอนไปรวมกับแผนกรัฐศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖ อยู่ ๑ ปี เรียกว่า แผนกนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ พ.ศ. ๒๔๗๗ รัฐบาลจึงจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้น หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้โอนแผนกนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปดำเนินการสอนในมหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นใหม่นี้แยกเป็นอิสระส่วนหนึ่งต่างหาก
การศึกษาเล่าเรียนกฎหมายในสมัยนั้นเป็นไปในวงแคบ ผู้ที่มีความรู้ในทางกฎหมายแทบจะนับตัวถ้วนซึ่งผู้ใดที่ใคร่จะมีความรู้ในทางกฎหมาย ก็ต้องสมัครเข้าไปรับใช้การงานของท่านเสนาบดีบ้าง ท่านผู้ใหญ่ในวงการกฎหมายบ้าง เมื่อท่านเหล่านั้นเมตตาก็สั่งสอนให้ทีละเล็กทีละน้อยเสด็จในกรมฯ ทรงดำริว่า การที่จะรับราชการฝ่ายการศาลยุติธรรมให้เป็นไปด้วยดีนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีผู้รู้กฎหมายมากยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งทางที่ดีที่สุดก็คือ เปิดให้มีการสอน วิชากฎหมายขึ้นให้เป็นการแพร่หลายโดยให้โอกาสแก่บุคคลที่สนใจเข้าศึกษาได้ จึงได้ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐
ครั้นต่อมาเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ทางเนติบัณฑิตยสภาได้จัดตั้งสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภาขึ้น เพื่ออบรมให้นักศึกษาในทางกฎหมายได้มีความชำนิชำนาญเพิ่มเติมจากที่ได้ศึกษามาแล้วจากมหาวิทยาลัยโดยเริ่มเปิดสอนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๑ การศึกษาในปีแรกเรียกว่า การศึกษาสมัยที่ ๑ และมีผู้สอบสำเร็จความรู้ชั้นเนติบัณฑิตได้ ๖ ท่าน ในสมัยแรกซึ่งท่านศาสตราจารย์จำรัส เขมะจารุ สอบได้อันดับที่ ๑ ของสำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
การศึกษาในทางวิชากฎหมายที่เป็นปึกแผ่นแน่นหนามาได้จนถึงทุกวันนี้ คงไม่มีใครโต้แย้งว่ามิใช่เป็นผลโดยตรงอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ และพระอุตสาหะวิริยะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤกธิ์
การศึกษาในทางวิชากฎหมายที่เป็นปึกแผ่นแน่นหนามาได้จนถึงทุกวันนี้ คงไม่มีใครโต้แย้งว่ามิใช่เป็นผลโดยตรงอันสืบเนื่องมาจากพระราชดำริ และพระอุตสาหะวิริยะของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤกธิ์
ด้วยพระเกียรติคุณอันจะพรรณนา ที่มีต่อประเทศชาติและนักกฎหมายทั้งปวงเป็นอเนกประการทำให้ประชาชนทั่วไป ขนานนามพระองค์ท่านว่า “พระบิดา และปฐมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย”

คุณธรรมที่ควรเอาเป็นแบบอย่าง
1. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงเป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเห็นได้จากพระองค์สามารถผ่านการสอบสอบผ่านเข้าเรียน ณ สำนักไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดได้ เมื่อพระชันษาได้ ๑๗ พรรษาและสามารถจบปริญญาโดยใช้เวลาศึกษาเพียง3ปี
2. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ที่มีความรักชาติเห็นได้จากพระทัยตั้งมั่นที่จะพยายามขอเลิกอำนาจศาลกงสุลต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศของเรามีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง ซึ่งทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายเพื่อ จะได้กลับมาพัฒนากฎหมายของบ้านเมือง กับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นเพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับนับถือ และยอมอยู่ใต้อำนาจของศาลเรา
3. พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ที่มีความวิริยะอุตสาหะในการทำงานอย่างดีเมื่อพระยามานวรราชเสวี ทูลว่า “ไม่เคยเห็นใครทำงานมากอย่างใต้ฝ่าพระบาทมีพระสงค์อย่างไร” ทรงตอบว่า " รู้ไหมว่า My life is Service"(ชีวิตของฉันเกิดมาเพื่อรับใช้ประเทศชาติ) และทรงยกคติพจน์ของชาวอังกฤษชื่อ Kingsley s ให้ท่านฟัง
4.พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงเป็นผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวดทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายและทรงเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง เพื่อที่จะให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ทรงรวบรวมกฎหมาย และคำพิพากษา ฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทยอันเป็นประโยชน์ใหญ่ยิ่งแก่ประเทศชาติจึงทรงได้รับยกย่องให้เป็น"พระบิดาแห่งกฎหมายไทย"

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฏหมาย












กฎหมาย มีความสำคัญต่อประชาชน ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ดังนั้นประชาชน ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและถ้าหากใครฝ่าฝืน ก็ย่อมมีผลกับผู้นั้น ที่เรียกว่า สภาพบังคับ เรื่องที่

1.1 ความหมายของกฎหมาย

1.2
ทฤษฎีของกฎหมาย;

1.3
ความสำคัญของกฎหมาย

1.4 ประโยชน์ของกฎหมาย